Skip to content
โลโก้-รีวิวจริง
โลโก้-รีวิวจริง
บทความ สาระน่ารู้

หากโดนกิ้งกือกัดจะเกิดอะไรขึ้น?

June 7, 2025June 7, 2025
 หากโดนกิ้งกือกัดจะเกิดอะไรขึ้น

หากโดนกิ้งกือกัดจะเกิดอะไรขึ้น? หลายคนอาจเคยได้ยินคำว่า กิ้งกือมันกัด แล้วแอบจินตนาการว่ามันต้องน่ากลัวสุด ๆ แต่เอ๊ะ…จริง ๆ แล้วมันกัดเราได้จริงหรือเปล่านะ? ต้องบอกก่อนเลยว่าเจ้า “กิ้งกือ” ไม่ได้มีฟันหรือกรงเล็บที่จะมากัดใครได้หรอกจ้าา มันแค่ปล่อยพิษเพื่อป้องกันตัวเองเท่านั้นเอง แต่ถ้าเราเผลอโดนพิษของมันเข้า จะเกิดอะไรขึ้นกับเราบ้าง? บทความนี้ Reviewjing ได้รวบรวมทุกคำตอบและเคล็ดลับการป้องกันแบบง่าย ๆ มาให้ครบแล้ว จะได้ไม่ต้องกังวล ถ้าบังเอิญไปเจอกิ้งกือตามสวนหรือตามทางเดินนะคะ! 🌿

สารบัญ
  • เข้าใจธรรมชาติของกิ้งกือ
  • กิ้งกือกัดได้ จริงหรอ?
  • วิธีปฐมพยาบาลเมื่อสัมผัสพิษของกิ้งกือ
  • การป้องกันไม่ให้สัมผัสพิษของเจ้ากิ้งกือ
กิ้งกือในป่าท่อนไม้

เข้าใจธรรมชาติของกิ้งกือ

กิ้งกือเป็นสัตว์เล็ก ๆ ที่รูปร่างดูยาวคล้ายหนอน มีขาหลายคู่มากกก เรียงกันเป็นแถว ๆ เจ้ากิ้งกือนี้ชอบอยู่ในที่ชื้นและมืด เช่น ใต้ก้อนหิน, ใต้ใบไม้ หรือในซอกไม้ เพราะมันชอบความชื้นและความมืด ช่วยให้มันอยู่รอดได้ดีค่ะ 🐛

เวลาเจอกิ้งกือ หลายคนอาจรู้สึกกลัวหรือไม่ชอบเพราะรูปร่างมันดูแปลก ๆ แต่จริง ๆ แล้วเจ้ากิ้งกือไม่ได้ทำร้ายคนเลยนะ เจ้ากิ้งกือจะป้องกันตัวเองด้วยวิธีง่าย ๆ คือม้วนตัวเป็นวงกลมแน่น เหมือนโดนัทเลยแหละ เพื่อปกป้องส่วนท้องที่บอบบางของมัน ดังนั้น อย่าตื่นเต้นหรือกลัวเจ้ากิ้งกือมากเกินไปนะคะ เพราะมันแค่พยายามอยู่รอดและปกป้องตัวเองอย่างน่ารัก ๆ เท่านั้นเองค่า! 

กิ้งกือกัดได้ จริงหรอ?

หลายคนคงเคยได้ยินคำพูดแบบนี้กันใช่ไหมค่ะ? แต่ขอบอกเลยว่า กิ้งกือไม่ได้กัดใครจริง ๆ เพราะมันไม่มีฟัน ไม่มีกรงเล็บ หรืออวัยวะใด ๆ ที่จะกัดเราได้เลยค่ะ 😅

แต่ถ้าเผลอไปจับเจ้ากิ้งกือ หรือทำให้มันรู้สึกถูกรบกวน มันจะมีวิธีป้องกันตัวเองแบบเจ๋ง ๆ คือปล่อยสารเคมีที่เรียกว่า พิษกิ้งกือ ออกมาแทน ซึ่งสารตัวนี้แหละที่ทำให้หลายคนเกิดอาการไม่สบายผิวได้ เช่น

  • ผิวหนังบริเวณที่สัมผัสกลายเป็นสีแดง
  • รู้สึกคันหรือแสบ ๆ เหมือนโดนของร้อนเบา ๆ
  • บางคนอาจมีอาการบวมเล็กน้อย หรือรู้สึกระคายเคือง

ดังนั้น หากใครเจอกิ้งกือแล้วรู้สึกว่าถูกกัด จริง ๆ แท้จริงคืออาการจากสารพิษที่กิ้งกือปล่อยออกมา ไม่ใช่การกัดแต่อย่างใดนะค่ะ อาจจมีกลิ่นเหม็นด้วยก็อย่าตกใจเพราะมันเป็นสารพิษจากตัวน้องนั้นแหละ

เราก็เลยต้องระวังเวลาจับ หรือเล่นกับเจ้ากิ้งกือกันหน่อย เพื่อไม่ให้เกิดอาการระคายเคืองไม่สบายตัวนะคะ

วิธีปฐมพยาบาลเมื่อสัมผัสพิษของกิ้งกือ

ถ้าเผลอโดนพิษของกิ้งกือ แบบไม่ทันตั้งตัว ก็ไม่ต้องตกใจนะคะ! วิธีดูแลเบื้องต้นง่าย ๆ ที่ช่วยบรรเทาอาการได้ดี มีดังนี้เลย

ล้างมือด้วยสบู่
  • ล้างบริเวณที่สัมผัสด้วยน้ำสะอาดทันที เพื่อชะล้างสารพิษออกจากผิว
  • ใช้สบู่อ่อน ๆ ล้างซ้ำเบา ๆ เพื่อช่วยลดสารเคมีที่ติดอยู่บนผิว
  • ซับให้แห้งด้วยผ้าสะอาด อย่าถูแรง เพราะจะทำให้ระคายเคืองมากขึ้น
  • ถ้ารู้สึกคันหรือแดง ให้ลองทาครีมลดอาการแพ้ หรือครีมสเตียรอยด์ตามคำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกร
  • หลีกเลี่ยงการเกาหรือขัดผิวบริเวณที่ระคายเคือง เพราะจะยิ่งทำให้ผิวอักเสบ
  • หากอาการแย่ขึ้น เช่น ผื่นลาม บวมมาก หรือรู้สึกเจ็บปวด ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง

จำไว้นะคะว่าการปฐมพยาบาลเร็วและถูกวิธี จะช่วยลดความรุนแรงและทำให้อาการหายไวขึ้น ไม่ต้องทรมานนาน ๆ 🧴

การป้องกันไม่ให้สัมผัสพิษของเจ้ากิ้งกือ

ถ้าเจอกิ้งกือ อย่าคิดจะจับมันด้วยมือเปล่าเด็ดขาดนะ! เพราะถึงกิ้งกือจะไม่กัดเรา แต่พิษที่มันปล่อยออกมา อาจทำให้ผิวหนังเราแสบ แดง หรือคันได้เหมือนกัน ควรทำตามนี้เพื่อป้องกันการโดนพิษค่ะ 

สวมถุงมือเพื่อป้องกันสารเคมีและสิ่งสกปรก
  • ใส่ถุงมือกันสารเคมีหรือสิ่งสกปรกที่จะติดมากับกิ้งกือ
  • สวมรองเท้าปิดมิดชิด เพื่อป้องกันไม่ให้กิ้งกือหรือสัตว์เล็ก ๆ เข้าใกล้เท้า
  • ซับให้แห้งด้วยผ้าสะอาด อย่าถูแรง เพราะจะทำให้ระคายเคืองมากขึ้น
  • เลือกใส่เสื้อผ้าที่ปกปิดร่างกายมิดชิด เช่น กางเกงขายาว เเละเสื้อแขนยาว
  • ระวังเวลาเดินผ่านใต้ใบไม้หรือก้อนหิน เพราะกิ้งกือชอบอยู่ในที่ชื้น ๆ มืด ๆ แบบนั้น

แค่ทำตามนี้ โอกาสที่จะโดนพิษของกิ้งกือ ก็จะลดลงไปเยอะเลยนะคะ 🛡️

กิ้งกือกัด จริง ๆ แล้วน้องไม่ได้ตั้งใจทำร้ายเราเลยนะคะ! ตามที่ Reviewjing บอกไว้ มันแค่ตอบสนองแบบสัญชาตญาณป้องกันตัวเฉย ๆ ด้วยการปล่อยสารเคมีที่ทำให้รู้สึกแสบ ๆ คัน ๆ นิดหน่อยที่มีพลังพิษไว้ปกป้องตัวเองเท่านั้นเองจ้า 😄

อ้างอิงที่มาของข้อมูล

  • Tnnthailand
Post Views: 55

Post navigation

Previous Previous
ความลับของการ “หาว” ทำไมเวลาเราหาว คนรอบข้างถึงหาวตาม?
NextContinue
กระทิงเกลียดสีแดงจริงไหม? ไขความจริงที่หลายคนเข้าใจผิด

เรื่องเด่นวันนี้

ทำไมมดถึงเดินเป็นแถว มันมีผู้นำจริงไหม หรือแค่เดินตามกลิ่น

ทำไมมดถึงเดินเป็นแถว? มันมีผู้นำจริงไหม หรือแค่เดินตามกลิ่น?

ทำไมเวลากลัวขนถึงลุก? กลไกนี้มีไว้เพื่ออะไร?

ทำไมเวลากลัวขนถึงลุก? กลไกนี้มีไว้เพื่ออะไร?

กระทิงเกลียดสีแดงจริงไหม

กระทิงเกลียดสีแดงจริงไหม? ไขความจริงที่หลายคนเข้าใจผิด

ทำไมคนถึงหาวตามกัน วิทยาศาสตร์มีคำตอบ

ความลับของการ “หาว” ทำไมเวลาเราหาว คนรอบข้างถึงหาวตาม?

ทำไมชอบคิดไอเดียตอนอาบน้ำ เฉลยกลไกสมองที่อยู่เบื้องหลัง

ทำไมเราชอบคิดไอเดียออกตอนอาบน้ำ? สมองมีเหตุผลของมัน